วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องการคูณเลข

1.ให้คำนวนบวกลบคูณหารจำนวนสิ่งของ เช่น ดินสอ ยางลบ ของเล่นที่น่าสนใจ พวกตุ๊กกะตุ่น ตุ๊กตา 2.ให้คำนวนบวกลบคูณหารตามรูปภาพ 3.ให้คำนวนบวกลบคูณหารลงใส่กระดาษ 4.การคำนวนค่อยปรับจำนวนตัวเลขให้เพิ่มขึ้น 5.การคำนวนค่อยปรับจำนวนตัวเลขให้เพิ่มขึ้น ที่ละตัวเมื่อทำสำเร็จแล้ว คำนวนไม่เกิน3-5ตัวไปแล้วค่อยเพิ่มทีละนิดอย่าช้าๆจนถึง10ตัว พอชำนาญแล้วปรับรูปแบบการคำนวน จากบวกมาเป็นลบ จากลบมาเป็นคูณ คูณมาเป็นหาร ความจำชั่วคราวเพิ่งหัดเรียนรู้ก็จะสามารถคำนวนได้3-5ตัว ยังไม่เป็นความจำถาวรค่อยฝึกเป็นความจำที่ถาวร การใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน เช้า-กลางวัน-เย็น ก่อนนอน ทุกวัน เน้นทบทวนในภายหลังบ่อยๆนานๆ ก็จะกลายเป็นความจำที่ถาวร

เรื่องเทคนิคหารเลขเร็ว

เทคนิคหารเลขเร็ว การตั้งหารยาวเป็นวิธีหาผลหารที่เข้าใจง่าย แต่ใช้เวลาคำนวณนาน เราจึงมักเก็บวิธีหารยาวไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย ในการทำโจทย์หารเลข เราจะเริ่มจากการเลือกเทคนิคที่เหมาะกับโจทย์ข้อนั้น ทางเลือกแรกคือเทคนิคที่คำนวณง่าย ได้คำตอบเร็ว มีเทคนิคอะไรให้เลือกบ้าง ?

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง เทคนิคการบวกเลขเร็ว

เทคนิคการบวกเลขเร็ว เด็กนักเรียนเริ่มรู้จักตัวอักษร ก, ข, ... พร้อมกับตัวเลข 1, 2, 3 ... และเรียนรู้วิธีสะกดคำ พร้อมกับการนับเลข ตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่เมื่อเรียนจบป.6 ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่สามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องสะกด แต่ไม่สามารถบวกเลขได้โดยไม่ต้องนับ การบวกเลขโดยไม่ต้องนับง่ายกว่าการอ่านคำศัพท์โดยไม่ต้องสะกด เพราะตัวเลขมีเพียง 10 ตัว (0-9) นำมาจับคู่บวกกันได้ 10 x 10 = 100 คู่ (เลข 1 หลัก) แต่ตัวอักษร สระ และวรรณยุกต์มีถึง 44 ตัว นำมาผสมเป็นคำศัพท์ต่าง ๆ ได้มากกว่า 100 คำ ทำไมเด็กสามารถทำสิ่งที่ยากได้ดีกว่าทำสิ่งที่ง่าย ? เป็นเพราะเด็กไม่สนใจเรียนคณิตศาสตร์ หรือเป็นเพราะเราให้ความสำคัญกับการเรียนภาษามากกว่าคณิตศาสตร์ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะพัฒนาความสามารถของเด็กให้บวกเลขได้เร็วเหมือนอ่านหนังสือโดยไม่ต้องสะกด ?

เรื่องการกระจายคำ และการประสมคำ

การกระจายคำ คือ การเเยกส่วนประกอบของคำออกเป็นส่วนๆ ซึ่งคำทุกคำจะต้องประกอบด้วย พยัยชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ คำบางคำอาจมีตัวสะกด และอักษรการันต์ด้วย เช่น คำ พยัญชนะ สระ ตัวสะกด รูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ อักษรการันต์ ก้อง ก ออ ง อ้ โท - ลุ่ม ล อุ ม อ่ โท - น้ำ น อำ - อ้ ตรี - ป๋า ป อา - อ๋ จัตวา - เคราะห์ คร เอาะ - - ตรี ห์ จั่น จ อะ น อ่ เอก - ทุกข์ ท อุ ก - ตรี ข์ แข็ง ข แอะ ง - จัตวา - สวย ส อัว ย - จัตวา - พิมพ์ พ อิ ม - สามัญ พ์ การประสมคำ คือ การนำส่วนประกอบของคำ ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกันเป็นคำ การประสมคำ มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การประสม 3 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน เช่น น้ำ ปู่ โก้เก๋ 2. การประสม 4 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมกัน เช่น นิ้ว มัด โทษ 3. การประสม 4 ส่วนพิเศษ หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น เล่ห์ เคราะห์ โชว์ 4. การประสม 5 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น แพทย์ ศัพท์ นิพนธ์ พิมพ์

เรื่องมาตราตัวสะกด

แม่ ก กา คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์ น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ เล้า โสภา หญ้าคา อาชา แม่ กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง คือ อ่านอย่างเสียง ง ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง แม่ กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม คือ อ่านออกเสียง ม ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม แม่ เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย คือ อ่านออกเสียง ย ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย แม่ เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว คือ อ่านออกเสียง ว

กลุ่มสระภาษาไทย เรื่องสระ

สระในภาษาไทย 

         สระ แบ่งตามการออกเสียง เป็นสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว สระเสียงสั้นมี 18 เสียง ได้แก่ อะ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา สระเสียงยาว มี 14 เสียง ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤา ฦา การใช้สระในภาษาไทย แบ่งเป็น 3 แบบ เช่น 2.1 แบบคงรูป คือ นำไปประสมกับพยัญชนะโดยไม่เปลี่ยนรูป เช่น ด + อำ = ดำ ต + เเอะ = แตะ ต + อา = ตาเสือ ส + เอือ = เสือ 2.2 แบบเเปลงรูปหรือเปลี่ยนรูป คือ รูปสระบางตัวจะเปลี่ยนไปเมื่อมีตัวสะกด เช่น ร + อะ + ก = รัก ห + เอะ + น = เห็น ด + ออ + น = เดิน ข + แอะ + ง = แข็ง 2.3 แบบลดรูป คือ รูปสระบางตัวจะหายไป เมื่อนำสระมาประสมกับพยัญชนะและตัวสะกด เช่น ม + โอะ + ด = มด พ + ออ + ร = พร ข + เออ + ย =เขย ส + อัว + ย = สวย